Get Adobe Flash player

คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. อธิบดีกรมประมง ประธานกรรมการ
2. รองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย รองประธานกรรมการ
3. ที่ปรึกษากรมประมงด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
4. ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงน้ำจืด กรรมการ
5. ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา กรรมการ
6. ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานสัตว์น้ำจืด กรรมการ
7. ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
8. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรรมการ
9. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรรมการ
10. ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงาม กรรมการ
11. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรรมการ
12. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรรมการ
13. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรรมการ 
14. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรรมการ
15. ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรรมการ
16.  ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรรมการ
17. ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรรมการ
18. ผู้อำนวยการกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรรมการ
19.  ผู้อำนวยการกองกฎหมาย  
20. ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรรมการและเลขานุการ
21. หัวหน้ากลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด  
22. หัวหน้ากลุ่มกำหนดมาตรการด้านการประมง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ  
23. หัวหน้ากลุ่มวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  
24. หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ  
25. หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบและรับรองแหล่งประมง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล  
26. หัวหน้ากลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต  

 

อำนาจหน้าที่
  1. นำเสนอนโยบาย และการดำเนินงานของกรมประมงให้สอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ พิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
  2. พิจารณาและเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาอนุญาตนำเข้า ส่งออก นำผ่าน เพาะเลี้ยง หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้น้ำมีชีวิต ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
  3. ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแนวทางและนโยบาย มาตรการหรือแผนงานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  4. กำกับดูแลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในการวิจัยของกรมประมงที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมของสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำที่มีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organism หรือ LMO)
  5. พิจารณาเสนอความเห็นต่อกรมประมงเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามบทบัญญัติในกรอบงานแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ
  6. ประสานงานกับหน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าสิ่งมีชีวิตในการติดตามตรวจสอบและให้คำแนะนำหรือแก้ไขปัญหาเมื่อมีการนำเข้าสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้น้ำประเภทที่เป็นอันตรายหรือสงสัยว่าจะเป็นอันตราย
  7. ให้คำแนะนำในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม โดยกระบวนการเข้าถึงจะต้องอยู่ภายใต้ความเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้า รวมทั้งการเข้าถึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกัน
  8. แต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม
  9. ดำเนินการปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ตามที่กรมประมงมอบหมายและรายงานผลการดำเนินการเสนอต่อกรมประมง

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC)
113 Thailand Science Park, Phahonyothin Road, Khlong Nueng, Khlong Luang, Pathum Thani 12120 THAILAND
Tel: (66-2) 564 6700, Fax : (66-2) 564 6701-5
Copyright © 2009 BIOTEC, NSTDA . All Rights Reserved. Privacy Policy. Powered by MIS.