โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท:Science in Rural Schools ; SiRS

 

ที่มาของโครงการ

จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ด้วยพระเมตตาที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร ได้รับการพัฒนามากขึ้นทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และในด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในการนี้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงได้จัดตั้งโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท(Science in Rural Schools ; SiRS) ขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับครูและนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน สกลนคร ฉะเชิงเทรา พังงา และนราธิวาส โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพครูวิทยาศาสตร์ และการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เกิดกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและอนาคต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมชนบท ให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศที่ได้อาสาเข้ามาร่วมดำเนินงานในโครงการนี้

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเช่นโครงงานวิทยาศาสตร์ ค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นิทรรศการงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ วันเด็ก การสร้างสื่อการเรียนรู้ และการทัศนศึกษา
  2. เสริมสร้างความสามารถและพัฒนาศักยภาพของครูในพื้นที่ปฏิบัติการ ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่นและชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างยั่งยืน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การวิจัยในชั้นเรียน การให้คำปรึกษา และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  3. สร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างโครงการ SiRS และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ปฏิบัติการ และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์เชิงกิจกรรม

  1. เพื่อกระตุ้นความสนใจ พัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชน และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ จากการจัดกิจกรรมและสนับสนุนกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ ค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดนิทรรศการงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ งานวันเด็ก กิจกรรมทัศนศึกษา และการสร้างสื่อการเรียนการสอน
  2. เพื่อเสริมสร้างความสามารถและพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยในชั้นเรียน และใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่นและชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างยั่งยืน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้คำปรึกษา และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและเว๊บไซต์ที่เป็นสื่อกลางระหว่างโครงการ SiRS กับโรงเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถสืบค้นตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอน เผยแพร่ข่าวสารของโครงการ ผลงานของนักเรียนและโรงเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพื้นที่ปฏิบัติการ
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างโครงการ SiRS และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ปฏิบัติการ

เป้าหมาย

  1. กระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชน และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของการพัฒนาความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ระดับต่อไป
  2. เพื่อเสริมสร้างความสามารถและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ ที่มีอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ให้เพิ่มขีดความสามารถทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้งในและนอกโรงเรียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการนำความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ ใช้ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน

ผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์สังคม และสิ่งแวดล้อม

  1. ผลของโครงการฯ ต่อคณะครู คาดว่าจะทำให้ครูผู้สอนได้พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของตนเอง มีการเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้จากทุกกลุ่มสาระการเรียนเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ชีวิตประจำวันของนักเรียน
  2. ผลของโครงการฯ ต่อนักเรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร คาดว่าจะทำให้นักเรียนมีความสนใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และมีทักษะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  3. ผลของโครงการฯ ต่อเครือข่ายการทำงานพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในพื้นที่ปฏิบัติการ คาดว่าจะช่วยสร้างความประสานสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ทำให้เกิดความแข้มแข็ง การปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สรุปภาพรวมผลงาน 12 ปีที่ผ่านมา