![]() |
ในโอกาสนี้ ไบโอเทค และ สวทช. ได้ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัยด้านโคนมทั้งในส่วนที่ไบโอเทคดำเนินการ และในส่วนที่ สวทช. ให้การสนับสนุน โดยมี รศ. ดร. สุวิทย์ เตีย รองผู้อำนวยการไบโอเทคพร้อมด้วยคณะนักวิจัย ประกอบด้วย รศ. เพทาย พงษ์เพียจันทร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ. สุริยะ สะวานนท์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร. ศิวัช สังข์ศรีทวงษ์ จากไบโอเทคได้ถวายรายงานผลงานทางวิชาการที่ช่วยสนับสนุนการเลี้ยงโคของเกษตรกรไทย อาทิ การขยายผลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมตามระยะเวลา การขยายผลเพื่อประโยชน์จากเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน การขยายผลเพื่อประโยชน์จากอ้อยอาหารสัตว์ และการคัดเลือกแบคทีเรียย่อยสลายเยื่อใยที่มีศักยภาพสูงจากกระเพาะรูเมนของกระบือปลักและแนวทางการประยุกต์ใช้ พร้อมกันนี้ ในวันที่ 6-7 มกราคม ทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาสัตว์ ไบโอเทคจะจัดกิจกรรมสาธิตการจัดการและการดูแลรักษาตัวอ่อนก่อนการย้ายฝากให้แก่เกษตรกรผู้สนใจภายในงานด้วย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
และปีนี้ ดร. ศิวัธ สังข์ศรีทวงษ์ หัวหน้าห้องปฎิบัติการสรีรวิทยาสัตว์ ไบโอเทคได้เข้ารับพระราชทาน “โล่เกียรติคุณผู้ให้การสนับสนุนกิจการโคนมและอุตสาหกรรมนม” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดร. ศิวัช ดำเนินงานวิจัยด้านการสืบพันธุ์ของโคนม โดยเน้นเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน และเทคโนโลยีเพื่อเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมโคนม นอกจากนี้ ดร. ศิวัชได้ดำเนินกิจกรรมการให้บริการปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการสืบพันธุ์ของโคนมที่ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ปัจจุบัน เทคโนโลยีการเหนี่ยวนำการตกไข่ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง ในสหกรณ์โคนมพิมาย สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น หจก.น้ำฝนฟาร์ม บจก.เอพีพีแดรี่ฟาร์ม บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เป็นต้น และยังขยายพื้นที่ไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้แม่โคคัดทิ้งกลับมาตั้งท้องได้กว่าหมื่นตัว
ประกาศเมื่อ 10 มกราคม 2554.