![]() |
โครงการ Gratitude มีเป้าหมายที่จะพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อลดความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของมันสำปะหลังและแยม (yam) และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากของเสียที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังและแยม ศึกษาการลดการสูญเสียทางกายภาพ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และการใช้ประโยชน์จากของเสีย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
คณะผู้วิจัยในโครงการประกอบด้วย ดร. เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ ดร. สุนีย์ โชตินีรนาท ดร. จักรพล สุนทรวราภาส นายสิทธิโชค วัลลภาทิตย์ และนางสาวรุ่งทิวา วันสุขศรี โดยมี รศ.ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลังและแป้งเป็นที่ปรึกษา โดยทีมนักวิจัยไทยจะมีบทบาทในการดำเนินการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากกากมันสำปะหลัง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินห่วงโซ่มูลค่าของมันสำปะหลัง และของเสียจากกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลัง 2) ข้อมูลคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์จาก High quality cassava flour และการตลาด 3) การใช้ประโยชน์กากมันสำปะหลัง โดยการแยกแป้งหรือผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมจากการย่อยแป้งและการใช้ประโยชน์กากมันสำปะหลังที่แยกแป้งแล้ว จากนั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ได้แก่ เส้นใยอาหาร microcrystalline cellulose เพื่อใช้เป็นสารให้ความหนืดและสารทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร และ 4) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีในระดับต้นแบบโรงงานร่วมกับบริษัทเอกชน
ประกาศเมื่อ 30 เมษายน 2555