เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศผลการพิจารณารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภท รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2556 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2557
ในปีนี้มีนักวิจัยไบโอเทคและผู้ทำงานร่วมในหน่วยวิจัยไบโอเทค ได้รับรางวัล ดังนี้


จากข้อมูลการทดลองยับยั้งการแสดงออกของยีนและการทดลองทางชีวเคมี ทำให้สามารถค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญของการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในกุ้งกุลาดำ โดยสามารถสรุปแบบจำลองกลไกการกระตุ้นการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดสซึ่งเริ่มจากโปรตีนจดจำของกุ้งชื่อ PmLGBP และ PmClipSP2 ทำหน้าที่ร่วมกันจับกับผนังเซลล์ของจุลชีพคือ LPS จากแบคทีเรียแกรมลบ และ β-glucan จากเชื้อรา ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของกลุ่มคลิปโดเมนซีรีนโปรติเนสที่ชื่อโพรฟีนอลออกซิเดสแอคติเวติงเอนไซม์ (PmPPAE1 และ PmPPAE2) และคลิปโดเมนซีรีนโปรติเนสโฮโมล็อก (PmMasSPH1 และ PmMasSPH2) ทำหน้าที่เปลี่ยนโพรฟีนอลออกซิเดส (PmproPO1 และ PmproPO2) ให้เป็นเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสที่ทำหน้าที่สร้างเมลานินในการฆ่าเชื้อจุลชีพ องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ช่วยชี้ให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในการสร้างเมลานินในระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อการต้านเชื้อก่อโรคในกุ้ง และสามารถประยุกต์เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อในการเพาะเลี้ยงกุ้ง รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต้านโรค
![]() |
แบบจำลองกลไกการกระตุ้นการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในกุ้งกุลาดำ |
นอกจากนี้ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคุณณรงค์ อรัญรุตม์ คณะนักวิจัยจาก หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) เป็นผู้ร่วมวิจัยในผลงานเรื่อง “การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคชนิดมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส ด้วยดีเอ็นเอเซนเซอร์” ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ประกาศเมื่อ 6 มกราคม 2557