เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพืชอาหารสัตว์ที่มีมากขึ้น ไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาสายพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์ ในขณะที่กรมปศุสัตว์ก็ได้พัฒนาหญ้าเนเปียร์ เพื่อนำมาใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีศักยภาพสูงทั้งในแง่การให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารต่อสัตว์ อีกทั้งสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทนต่อสภาวะแล้ง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง
อย่างไรก็ตาม พืชอาหารสัตว์นี้ จะให้ผลผลิตสูงสุดในช่วงฤดูฝน และมีผลผลิตน้อยในหน้าแล้ง ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์อย่างรุนแรง ดังนั้นการเก็บรักษาพืชอาหารสัตว์ไว้ในรูปของพืชหมักในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นอาหารสัตว์ในหน้าแล้งจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้
นักวิจัยไบโอเทค จึงคัดเลือกต้นเชื้อจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria, LAB) สายพันธุ์ที่เหมาะสมที่แยกได้จากอ้อยอาหารสัตว์หมักแบบธรรมชาติ แล้วนำมาศึกษาพบว่า ต้นเชื้อบริสุทธิ์ ช่วยเร่งกระบวนการหมักอ้อยอาหารสัตว์และหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ให้เร็วขึ้น ทำให้พืชหมักเข้าสู่สภาวะคงที่เร็วขึ้น เป็นการลดการสูญเสียโภชนะที่เป็นประโยชน์ พืชหมักที่ได้มีคุณภาพการหมักที่ดี มีความสม่ำเสมอ และเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้นเมื่อเทียบกับการหมักแบบธรรมชาติ ซึ่งความแตกต่างของคุณภาพพืชหมักเห็นได้อย่างชัดเจนหลังจากไว้เป็นเวลา 3 - 6 เดือน
ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะของพืชอาหารสัตว์หมักที่ดี กับอ้อยอาหารสัตว์หมัก และหญ้าเนเปียร์หมัก
คุณลักษณะ
|
พืชอาหารสัตว์หมักที่ดี
|
อ้อยอาหารสัตว์หมัก
ที่เก็บรักษาไว้เป็น
ระยะเวลา 3 เดือน
|
หญ้าเนเปียร์หมัก
ที่เก็บรักษาไว้เป็น
ระยะเวลา 3 เดือน
|
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
|
ต่ำกว่า 4.2
|
3.64
|
4.12
|
สัดส่วนของกรดชนิดต่างๆต่อปริมาณกรดทั้งหมด (Proportion of total acid)
กรดแลคติก
กรดอะซิติก
กรดบิวทาริก
|
มากกว่า 60%
น้อยกว่า 25%
น้อยกว่า 5%
|
86.52 %
5.43 %
0 %
|
75.43 %
24.57 %
0 %
|
ไบโอเทคได้จัดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ต้นเชื้อบริสุทธิ์เพื่อผลิตพืชอาหารสัตว์หมักให้ผู้สนใจในงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2558”
ประกาศเมื่อ 27 มกราคม 2558