Get Adobe Flash player

คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (มหาวิทยาลัยรามคำแหง)


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานกรรมการ
2. รองคณบดี ฝ่ายวิชาการและวิจัย รองประธานกรรมการ
3. หัวหน้าภาควิชาเคมี กรรมการ
4. หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา กรรมการ
5. หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร กรรมการ
6. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ กรรมการ
7. ผู้ประสานงานสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กรรมการ
8. ผู้ประสานงานสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร กรรมการ
9. ผู้ประสานงานสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ กรรมการ
10. นางสาวชมพูนุท  พรเจริญนพ กรรมการ
11. นางสาวธรณ์ธันย์  สว่างวรรณ์ กรรมการและเลขานุการ
12. นางนฤมล พิญญะพันธ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

อำนาจหน้าที่

ให้คำปรึกษาแนะนำ ควบคุมการดูแลการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรมและประสานความร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ติดต่อ contact person

.

คณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
3. รศ.ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล กรรมการ
4. ผศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ กรรมการ
5. ผศ.ดร.ชูชาติ  พันธ์สวัสดิ์ กรรมการ
6. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ กรรมการและเลขานุการ
7. นางสาวสุดารัตน์  ช้างโรง ผู้ช่วยเลขานุการ

 

อำนาจหน้าที่
  1. ประเมินและตรวจสอบโครงการวิจัยต่างๆ ว่ามีอันตรายแอบแฝงมากน้อยเพียงใด และให้คำแนะนำแก่นักวิจัยในการจัดการกับอันตรายเหล่านั้น
  2. ตัดสินระดับการป้องกันและวิธีการดำเนินงานสำหรับงานวิจัยประเภท 2 และ 3 ตามแนวทางของคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
  3. ส่งเอกสารต้นฉบับของข้อเสนอและแบบประเมินของโครงการวิจัยประเภท 3 ไปที่คณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และควบคุมให้ทำตามที่คณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแนะนำ ส่วนงานวิจัยประเภท 2 ให้แจ้งผลการประเมินโครงการวิจัยไปยังคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพรับทราบ
  4. ตรวจตราและออกใบรับรองก่อนการดำเนินงานห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 1 (BSL1) และห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 2 (BSL2) ห้องเลี้ยงสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ห้องเก็บรักษาสัตว์ติดเชื้อ และโรงเพาะเลี้ยงพืชดัดแปลงพันธุกรรม นอกจากนี้ คณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะต้องตรวจตราและตรวจสอบการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการต่างๆ อย่างน้อยที่สุดปีละครั้งเพื่อให้อยู่ในมาตรฐาน
  5. ตรวจสอบงานที่ดำเนินอยู่ และให้ข้อแนะนำต่อนักวิจัยเป็นระยะ
  6. ออกระเบียบปฏิบัติและตัดสินใจเกี่ยวกับความปอลดภัยทางชีวภาพในสถาบัน รวมทั้งการป้องกัน

 

คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่ปรึกษา
2. นางสาวลิลี่ เอื้อวิไลจิตร ที่ปรึกษา
3. รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ด้านสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ประธานกรรมการ
4. นางปาริชาติ เบิร์นส กรรมการ
5. นางสาวชัญญา พุทธิขันธ์ กรรมการ
6. นางสาวอุบลศรี เลิศสกุลพาณิช กรรมการ
7. นางสาวอรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ กรรมการ
8. นายพนิต  กิจสุบรรณ กรรมการ
9. นางสาวพีร์  จารุอำพรพรรณ กรรมการ
10. นางสาวนิภา  โชคสัจจะวาที กรรมการ
11. นายกำธร เกียรติปฐมชัย กรรมการ
12. นางสาวอัยดา  อรุณศรี กรรมการ
13. นางสาวชนิกุล  ชูตระกูร กรรมการ
14. นางสาวสุทิพา  ธนพงศ์พิพัฒน์ กรรมการ
15. นายบุญเฮียง พรมดอนกอย กรรมการและเลขานุการ
16. นางสาวรุ่งรัตน์ ลาภเจริญวงศ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
17. นางสาวธนภรณ์  คำราม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
18. นางสาวสิรนันท์  ไล้ทองคำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

อำนาจหน้าที่
  1. กำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในการศึกษาวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  2. พิจารณาและกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการผลิตและการครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหรืออันตราย
  3. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความปลอดภัยในการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในงานวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  4. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการกำกับดูแลการใช้เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในการศึกษาวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
  5. กำหนดระบบและมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพของงานวิจัยที่ดำเนินการในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม ในระดับห้องปฏิบัติการ โรงเรือน ระดับภาคสนาม และระดับต้นแบบที่มีความจุถังปฏิกรณ์มากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป
  6. ประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพของโครงการวิจัยที่มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม ที่ดำเนินการในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบระดับความปลอดภัยทางชีวภาพของสถานที่ปฏิบัติการวิจัยและควบคุมการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม
  7. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรมของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ โรงเรือน ระดับภาคสนาม และระดับต้นแบบที่มีความจุถังปฏิกรณ์ชีวภาพมากกว่า 10 ลิตรขึ้นไป
  8. ประสานงานกับคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และคณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของสถาบันอื่นๆ ที่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. ดร.เชิดชัย  เชี่ยวธีรกุล ประธานกรรมการ
2. นางสาวสุชาวดี วิรัทธิโกวิท กรรมการ
3. นางสาววิยดา กุนทีกาณจน์ กรรมการและเลขานุการ

 

อำนาจหน้าที่

พิจารณา และตรวจสอบโครงการวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และประสานงานกับคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

ติดต่อ contact person

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


  ชื่อ ตำแหน่ง
1. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญจนา  แซ่เตียว กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติ  ท่าไว กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย  กิตติวงศ์วัฒนา กรรมการ
5. รองศาสตราจารย์ ดร.อรินทิพย์  ธรรมชัยพิเนต กรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร  สมพรไพลิน กรรมการและเลขานุการ
7. นางสาวพิกุลทอง  นักทำนา ผู้ช่วยเลขานุการ

 

อำนาจหน้าที่
  1. ประเมินระดับความเสี่ยงของข้อเสนอโครงการวิจัย โครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือแผนการทดลองต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เชื้อโรค พิษจากสัตว์ ที่ดำเนินงานภายในสถาบัน และพิจารณาความเหมาะสมของห้องปฏิบัติการหรือสถานที่ทดลอง/วิจัย รวมทั้งติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ และพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
  2. ให้คำแนะนำในการวางแผนและพิจารณากลั่นกรองการเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เชื้อโรค และพิษจากสัตว์ ในหน่วยงานต่างๆ ภายในสถาบันให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ และพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
  3. แผยแพร่ความรู้ ให้ทำแนะนำ ให้คำปรึกษา และเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ และพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ แก่ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
  4. จัดทำระเบียบปฏิบัติและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันแล้วนำเสนออธิการบดีเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป
  5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่อธิการบดีมอบหมาย

 

National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC)
113 Thailand Science Park, Phahonyothin Road, Khlong Nueng, Khlong Luang, Pathum Thani 12120 THAILAND
Tel: (66-2) 564 6700, Fax : (66-2) 564 6701-5
Copyright © 2009 BIOTEC, NSTDA . All Rights Reserved. Privacy Policy. Powered by MIS.