BIOTEC

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง

ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้งมุ่งมั่นดำเนินงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการผลิตกุ้งและปลาคุณภาพสูง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิตกุ้งและปลาปลอดโรคที่มีสุขภาพดี โตเร็ว ต้านทานโรค มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีการเพาะเลี้ยงในระบบที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างองค์ความรู้ทางอณูชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับกุ้งและปลา และนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยง โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานดังนี้

– ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับกุ้งและปลา ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และทั้งหน่วยงานภายในประเทศและนานาชาติ
– ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งชาติและระดับภูมิภาคในการทำงานวิจัยและฝึกอบรมทางด้านอณูชีววิทยาและ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งและปลา
– ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งและปลาของไทย เพื่อให้งานวิจัยมิใช่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้เท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งและปลาของไทยได้ด้วย

(ในนามของหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ภายใต้การจัดการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

– Nested PCR สำหรับเชื้อก่อโรคที่มีสารพันธุกรรมแบบ DNA (HPV, MBV, WSSV, NHPB, KHV, EHP, and AHPND)
– Reverese transcription PCR สำหรับเชื้อก่อโรคที่มีสารพันธุกรรมแบบ DNA (MrNV, XSV, YHV, IMNV, LSNV, PvNV, and CMNV)
– Quantitative Real time PCR (qPCR)
– Histophatology
– In situ hybridization สำหรับการตรวจเชื้อก่อโรค
– บริการให้คำปรึกษา
– บริการดูแลโครงการวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา
– สถานฝึกปฏิบัติงาน
– บริการจัดการอบรมที่เกี่ยวข้อง

ผลงานเด่น ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง

– การระบุและศึกษาลักษณะของโรคและเชื้อก่อโรค
– การเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในกุ้งและปลา
– การพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อก่อโรคในกุ้งและปลา
– การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อก่อโรคในกุ้งและปลา
– ปรับปรุงสายพันธุ์ของแบคทีเรียโปรไบโอติกส์เพื่อใช้ในการผลิต dsRNA ทดแทนการใช้ E. coli และการประยุกต์ใช้ในการต้านเชื้อก่อโรคในกุ้ง
– การใช้สาหร่ายเซลล์เดียวในการผลิต dsRNA และสารชีวโมเลกุลอื่นๆที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ และทดสอบประสิทธิภาพในการต้านโรค
– เทคนิค In situ แลมป์สำหรับการชันสูตรยืนยันโรคอื่นๆในกุ้งและปลาเพื่อให้การควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ
– องค์ความรู้เกี่ยวข้องกับการเกิดการติดเชื้อไวรัสแบบเรื้อรังโดยการใช้เซลล์ยุงเป็นแบบจำลองในการศึกษา
– องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้เซลล์แมลงในการศึกษาเชื้อ Microsporidian ในกุ้ง
– โปรไบโอติกส์ ต้านแบคทีเรียและไวรัสที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคระบาดกุ้ง
– การศึกษาสารสกัดที่ยับยั้งการสร้าง biofilms ของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในกุ้ง
– การควบคุมโรคแบคทีเรียในกุ้งและปลา โดยใช้สารทางเลือกซึ่งไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ เช่น สารยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม การส่งสัญญาณ quorum sensing หรือวัคซีน
– การศึกษาประชากรจุลชีพในบ่อเลี้ยงและทางเดินอาหารของปลาและกุ้ง และบทบาทของประชากรจุลชีพต่อการต้านทานโรค

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง

วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม

วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม

นักวิจัยอาวุโส (หัวหน้าทีมวิจัย)

แสงจันทร์ เสนาปิน

แสงจันทร์ เสนาปิน

นักวิจัยอาวุโส

สโรชา จิตรากร

สโรชา จิตรากร

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

กรสุณี แจ่มกระจ่าง

กรสุณี แจ่มกระจ่าง

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการอาวุโส

ข้อมูลการติดต่อ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700